หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ความหมายของสปีชีส์
  • สปีชีส์ทางด้านสัณฐานวิทยา (morphological species)หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันในลักษณะทางสัณฐานและโครงสร้างทางกายวิภาคของสิ่งมีชีวิต ใช้เป็นแนวคิดในการศึกษาอนุกรมวิธาน
  • สปีชีส์ทางด้านชีววิทยา
    หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สามารถผสมพันธุ์กันได้ในธรรมชาติ ให้กำเนิดลูกที่ไม่เป็นหมันแต่ถ้าเป็นสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กันก็อาจให้กำเนิดลูกได้เช่นกันแต่เป็นหมัน
    แนวคิดของสปีชีส์ทางด้านชีววิทยาโดยพิจารณาความสามารถในการผสมพันธุ์และให้กำเนิดลูกหลานที่ไม่เป็นหมัน ในธรรมชาติมีสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กันอยู่ด้วยกันจำนวนมาก
    สิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กันมีการป้องกันการผสมพันธุ์ระหว่างสปีชีส์ได้โดยกลไกการแยกทางสืบพันธุ์ แบ่งออกเป็น 2 ระดับคือ
    • กลไกการแยกทางสืบพันธุ์ก่อนระยะไซโกต
    • กลไกการแยกทางสืบพันธุ์หลังระยะไซโกต

การเกิดสปีชีส์ใหม่

  • การเกิดสปีชีส์ใหม่จากการแบ่งแยกทางภูมิศาสตร์
กลไกการเกิดสปีชีส์ใหม่ลักษณะนี้ เกิดจากประชากรดั้งเดิมในรุ่นบรรพบุรุษที่เคยอาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกันเมื่อมีอุปสรรคมาขวางกั้น เช่น ภูเขา แม่น้ำ ทะเล เป็นต้น ทำให้ประชากรในรุ่นบรรพบุรุษที่เคยอาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกัน เกิดการแบ่งแยกออกจากกันเป็นประชากรย่อยๆและไม่ค่อยมีการถ่ายเทเคลื่อนย้ายยีนระหว่างกัน ประกอบกับประชากรแต่ละแห่งต่างก็มีการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบทางพันธุกรรมไปตามทิศทางการคัดเลือกโดยธรรมชาติจนกระทั่งเกิดเป็นสปีชีส์ใหม่
การเกิดสปีชีส์ใหม่ในลักษณะแบบนี้เป็นกระบวนการค่อยเป็นค่อยไป อาจใช้เวลานานนับเป็นพัน ๆ หรือล้าน ๆ รุ่น เช่น กระรอก 2 สปีชีส์ในรัฐอริโซนา ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกันมาก แต่พบว่าอาศัยอยู่บริเวณขอบเหวแต่ละด้านของแกรนด์แคนยอนซึ่งเป็นหุบผาที่ลึกและกว้าง นักชีววิทยาเชื่อกันว่ากระรอก 2 สปีชีส์นี้เคยอยู่ในสปีชีส์เดียวกันมาก่อนที่จะเกิดการแยกของแผ่นดินขึ้น




  • การเกิดสปีชีส์ใหม่ในเขตภูมิศาสตร์เดียวกัน
เป็นการเกิดสปีชีส์ใหม่ในถิ่นอาศัยเดียวกับบรรพบุรุษ โดยมีกลไกมาป้องกันทำให้ไม่สามารถผสมพันธุ์กันได้แม้ว่าจะอยู่ในพื้นที่เดียวกันก็ตาม

การเกิดสปีชีส์ใหม่ลักษณะนี้เห็นได้ชัดเจนในวิวัฒนาการของพืช เช่น การเกิดพอลิพลอยดีของพืชในการเพิ่มจำนวนชุดของโครโมโซม








พอลิพลอยดีเกิดจากความผิดปกติของกระบวนการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ ทำให้เซลล์สืบพันธุ์มีจำนวนโครโมโซม 2 ชุด (2 n) เมื่อเซลล์สืบพันธุ์นี้เกิดการปฏิสนธิจะได้ไซโกตที่มีจำนวนโครโมโซมมากกว่า 2 ชุด เช่น มีโครโมโซม 3 ชุด (3 n) หรือมีโครโมโซม 4 ชุด (4 n) เป็นต้น การเกิดพอลิพลอยดีอาจเกิดจากสิ่งมีชีวิตสปีชีส์เดียวกันหรือสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กัน



ตัวอย่างการเกิดพอลิพลอยดีของสิ่งมีชีวิตต่างสปีชีส์กัน คือ การทดลองของคาร์ปิเชงโก (Karpechengo)


คาร์ปิเชงโกนักพันธุศาสตร์ขาวรัสเซียซึ่งได้ผสมพันธุ์ผักกาดแดง ซึ่งมีจำนวนโครโมโซม 18 โครโมโซม (2 n = 18) กับกระหล่ำปลีซึ่งมีจำนวนโครโมโซม 18 โครโมโซม (2 n = 18) เท่ากัน พบว่าลูกผสมที่เกิดขึ้นในรุ่น F1 มีขนาดแข็งแรง แต่ไม่สามารถผสมพันธุ์ต่อไปได้ แต่ลูกผสมในรุ่น F1 บางต้นสามารถผสมพันธุ์กันและได้ลูกผสมในรุ่น F2 ซึ่งมีโอกาสเกิดได้น้อยมาก เมื่อนำลูกผสมในรุ่น F2 มาตรวจดูโครโมโซมพบว่ามีจำนวนโครโมโซม 36 โครโมโซม (2n = 36) และไม่เป็นหมัน
ถึงแม้ว่าการเกิดสปีชีส์ใหม่แบบพอลิพลอยดีในสัตว์จะพบได้น้อยกว่าในพืช แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตามยังมีกลไกอื่นอีกที่สามารถทำให้สัตว์เกิดสปีชีส์ใหม่ แม้ว่าจะยังคงอาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกับบรรพบุรุษ เช่น การเปลี่ยนแปลงยีนเพียงไม่กี่ยีนในตัวต่อซึ่งเป็นแมลงช่วยในการผสมเกสรของพืชพวกมะเดื่อ ทำให้ตัวต่อที่มียีนเปลี่ยนแปลงเลือกไปอาศัยอยู่ในต้นมะเดื่อสปีชีส์ใหม่ทำให้ไม่มีโอกาสได้พบและผสมกับตัวต่อประชากรเดิม แต่จะได้พบและผสมกับตัวต่อที่มียีนเปลี่ยนแปลงเหมือนกัน จนกระทั่งเกิดตัวต่อ 2 สปีชีส์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกันในที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น